บริการงานล้างแอร์ พื้นที่ให้บริการ บางกะดี บางพูน บ้านใหม่ บางคูวัด เมืองปทุม ลาดหลุมแก้ว สามโคก ซ่อมสร้าง 345 รังสิตคลอง 1-3 แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด ล้างแอร์บางกะดี ช่างแอร์บางกะดี
ล้างแอร์แสนสิริ CLUB 12,000-30,000 BTU
ล้างแอร์พร้อมซ่อมแอร์โรงงานทำขนม ธัญญบุรี คลอง 7
สกปรกแค่ใหนน้ำยา F2 สามารถล้างออกได้หมดสภาพแอร์ไม่ได้ล้างมาประมาณ 2 ปี
ผลงานล้างแอร์
ล้างแอร์หมู่บ้านมณีรินทร์ 345
บริการติดตั้งแอร์ใหม่และแอร์มือสอง
จำหน่ายแอร์ใหม่ราคาถูกกว่าห้างทุกยี้ห้อ
ติดแอร์บ้านผู้บริหาร DAIKIN 18,000 BTU inverter
ติดตั้งแอร์อย่างไร ติดตั้งทิศทางไหน ให้ความเย็นกระจายทั่วถึง
1. ติดตั้งแอร์ตามรูปแบบของห้อง
ก่อนติดตั้งแอร์ สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อน ก็คือเรื่องของขนาดห้อง สำหรับห้องที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการติดตั้งแอร์ ก็คือ ติดตั้งแอร์ด้านใดด้านหนึ่งของแนวนอนหรือแนวขวางตามยาว หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์บริเวณกลางห้อง เพราะจะทำให้ลมเย็นกระจายไม่ทั่วทั้งห้อง หากประตูอยู่ด้านแนวนอน ให้เลือกติดแอร์ทิศตรงข้ามกับประตู
2. หลีกเลี่ยงการติดแอร์เหนือประตู
ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์คือ บริเวณเหนือประตู เพราะจะทำให้ความเย็นกระจายออกจากห้องได้ง่าย จึงทำให้อากาศในห้องไม่เย็น การเปิดปิดประตูบ่อย ๆ จะทำให้อุณหภูมิภายในบริเวณห้องไม่คงที่ ทำให้ระบบเซ็นเซอร์เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ส่งผลให้แอร์ต้องทำงานหนักตาม จึงทำให้ต้องเสียค่าไฟเพิ่มขึ้น และทำให้ห้องไม่เย็น
3. ใช้ฉากกั้น
สำหรับห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากจนเกินไป สามารถแบ่งพื้นที่การใช้งานของห้องโดยใช้ฉากกั้นห้อง หรือม่านกั้นแอร์ จะช่วยเก็บความเย็นเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการใช้งานได้เฉพาะจุด วิธีนี้จะช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้แอร์ที่มีจำนวน BTU ต่ำ 2 เครื่อง ติดไว้ 2 ตำแหน่งที่แตกต่างกันไป วิธีนี้จะทำให้ความเย็นกระจายได้ทั่วถึงทุกบริเวณของห้อง การใช้ฉากกั้นร่วมด้วยก็จะให้ผลดีมากยิ่งขึ้น แต่การติดตั้งแอร์ที่มี BTU สูง เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากเกินไป เพราะหากจำนวนคนที่อยู่ในห้องมีน้อยจะเปลืองไฟมากกว่า ทำให้ไม่คุ้มค่า
4. ห้องเพดานสูง
ไม่ควรใช้แอร์แบบติดผนัง สำหรับห้องที่มีเพดานสูงเกินกว่า 2.5 เมตร ไม่ควรติดตั้งแอร์แบบติดผนัง ห้องลักษณะนี้เหมาะกับแอร์แขวนมากกว่า เพราะจะทำให้ลมเย็นกระจายได้ทั่วบริเวณห้องมากกว่าการติดตั้งแอร์แบบติดผนัง เพราะแอร์ที่ติดผนังจะมีการทำงานโดยการเป่าลมลงข้างล่าง แต่จะไม่ถึงด้านบน
5. อย่าติดตั้งแอร์ไว้เหนือหัวเตียง
การติดตั้งแอร์ในห้องนอน หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์ไว้เหนือเตียง เพราะลมเย็นจากแอร์จะปะทะตัวโดยตรง ทำให้รู้สึกเย็นมากเกินไปจนทำให้ไม่สบายได้ การติดตั้งแอร์ที่ดีควรติดตั้งแอร์ไว้ในแนวตั้งฉากกับหัวเตียงจะทำให้ได้รับอากาศเย็นสบาย ทำให้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่
6. เลือกทิศทางการติดแอร์ให้ดี
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศในทิศทางที่ถูกต้อง มีผลต่อค่าไฟ ให้หลีกเลี่ยงการติดแอร์ในตำแหน่งที่ผนังต้องเจอกับแสงแดดโดยตรง จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักเกินความจำเป็น โดยพิจารณาลักษณะการใช้งานร่วมด้วย ดังนั้น ให้หลีกเลี่ยงผนังในฝั่งที่ได้รับความร้อนสะสมในช่วงกลางวัน เช่น ถ้าห้องนอนอยู่ทางทิศตะวันตก ให้ติดเครื่องปรับอากาศในทิศตรงข้ามคือ ทิศตะวันออก หรือการติดตั้งในห้องอื่น ๆ ในทิศตะวันออกก็จะช่วยประหยัดค่าไฟ ทำให้ห้องเย็นได้อย่างทั่วถึงในทุกบริเวณ
การติดตั้งแอร์ให้ถูกต้องวิธีเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอย ขนาดและรูปแบบของห้อง จะช่วยประหยัดพลังงาน ทำให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนัก ช่วยให้ความเย็นสามารถกระจายตัวไปได้ทั่วห้อง ไม่มีความร้อนจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาสู่ภายในได้ อุณหภูมิของห้องจึงคงที่ ทำให้ประหยัดค่าไฟได้มากยิ่งขึ้น
การคำนวณหาขนาดแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง
ผลงานติดตั้งแอร์
บริการซ่อมแอร์
ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆตามอาการที่เสียกรณีที่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ จะใช้อะไหล่แท้เท่านั้นเบิกจากศูนย์บริการ เมื่อแอร์บ้านไม่เย็น สาเหตุส่วนมากเกิดจาก……..
1. กรณีอาการแอร์ไม่เย็น แต่คอมเพรสเซอร์ทำงาน มีสาเหตุมาจาก แอร์สกปรก ต้องทำการล้างทั้งคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นโดยปั้มน้ำแรงดันสูง น้ำยาแอร์ขาด ต้อง เติมน้ำยาเข้าระบบแรงดันประมาณ 70-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว มีอาการตันของระบบน้ำยาแอร์ ต้องทำการเปลี่ยนแคปทิ้ว (ตัวฉีดน้ำยา) ไดเออร์ (ตัวกรองความชื้น) และแวคคั่มระบบเติมน้ำยาใหม่
2. อาการแอร์ไม่เย็น คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
– สายไฟหลุด(ขาด) ต้องทำการตรวจเช็ค หาจุดที่สายไฟขาดหรือหลุด
– แมกเนติก (ตัวตัดต่อวงจรไฟฟ้า) เสีย ต้องทำการเปลี่ยนแมกเนติก
– แคปสตาร์ทเสีย ต้องทำการเปลี่ยนแคป
– แผงควบคุม (ที่คอยล์เย็น) เสียต้องทำงานเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
– คอมเพรสเซอร์เสีย ต้องทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่ทั้งลูกค่ะ
* สาเหตุที่แอร์ไม่เย็นมีอีกหลายสาเหตุนะค่ะ ต้องให้ช่างทำการตรวจเช็ค
3. อาการคอยล์เย็นแอร์ (ตัวทำความเย็น) เสียงดัง
– แอร์สกปรก ต้องทำการล้างโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
– มอเตอร์เสื่อมสภาพ ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์
– ประกอบแอร์หลังจากการล้างไม่ได้ ต้องทำการตรวจเช็คจุดขันสกรูและเช็คการประกอบใหม่
4. อาการคอยล์ร้อนเสียงดัง (ตัวระบายความร้อน)
– มอเตอร์พัดลมเสีย ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์
– ใบพัดลมตีกับโครงแอร์ ทำการตรวจเช็คหาจุดที่กระทบกัน
– มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวเครื่อง ทำการตรวจเช็ค
– แมกเนติดเสื่อม ต้องทำการเปลี่ยนแมกเนติก
5. อาการรีโมตแอร์ไม่ทำงาน
– ถ่านหมด ต้องทำการเปลี่ยนถ่าน
– ตัวรับสัญญาณเสีย ทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศนูย์บริการของผู้ผลิต
– รีโมตเสีย ทำการเปลี่ยนรีโมต
6. อาการบานสวิงที่คอยล์เย็นแอร์ไม่ทำงาน
-มอเตอร์สวิงเสีย ต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์สวิง
– ขาบานสวิงหัก ต้องทำการเปลี่ยนขาบานสวิง
– แผงควบคุณเสีย ต้องทำการเปลี่ยนหรือสงซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
– กะเปาะวัดอุณหภูมิเสีย ทำการเปลี่ยนกะเปาะวัดอุณหภูมิ
7. อาการตามท่อแอร์เป็นน้ำแข็ง
– น้ำยาขาด ทำการตรวจเช็คน้ำยาแล้วในกรณีน้ำยาแอร์ขาดมากให้ทำการหาจุดรั่วแล้วทำการเชื่อมอุดรอยรั่ว
– คอยล์เย็นสกปรก ทำการล้างแอร์ด้วยปั้มแรงดันสูง
8. อาการน้ำหยดที่คอยล์เย็น
– แอร์สกปรก ต้องทำการล้างแอร์ด้วยปั้มแรงดันสูง
– ข้อต่อท่อน้ำทิ้งหลุด ทำการตรวจเช็คหาจุดที่หลุด
– ท่อน้ำทิั้งตัน ทำการฉีดไล่ด้วยปั๊มแรงดันสูง
9. อาการแอร์มีกลิ่นอับชื้น
– ในห้องมีความชื้นสูง ตั้งโหมดลดความชื้นที่ตัวแอร์
– แอร์สกปรก ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
– เดินท่อน้ำทิ้งไปตรงกับท่อระบายน้ำ ทำการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่
10. อาการน้ำหยดที่คอยล์เย็น (เรื้อรัง)
– มีการตันที่ถาดน้ำทิ้งด้านหลังตัวแอร์ ทำการตัดคอยล์เย็นลงมาทำการถอดชิ้นส่วนและฉีดล้างให้ทั่ว
ย้ายแอร์พร้อมติดตั้ง
ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆว่ามีอะไรชำรุดหรือใหมจากนั้นทำการ บล็อกน้ำยาแล้วถอด และนำไปติดตั้งตามตามที่ๆลูกค้าต้องการ